สรุปบทเรียนสำหรับชุมชนเพื่อการดูแลเด็ก
จากเหตุการตายในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี ในมหาอุทกภัยปี 2554
โดยศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก คณะแพทยศาสต์ รพ รามาธิบดี และ สสส

ในมหาอุทกภัย 2554 ที่ผ่านมา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รายงานผู้เสียชีวิต
จากเหตุที่มีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำท่วมรวม 813 ราย

ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ รพ รามาธิบดี
ได้ทำการศึกษาการต่อด้วยวิธีการพิเคราะห์เหตุการตายในเด็กใน 15 จังหวัดได้แก่
ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ลพบุรี สุพรรณบุรี นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม

พบว่ามีเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปีตายโดยมีเหตุการตายที่มีความสัมพันธ์กับจากภาวะน้ำท่วม
รวม จำนวน 61 รายจากทั้งหมด 664 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.1

โดยกลุ่มเด็กอายุต่างๆกันได้แก่ กลุ่มอายุน้อยกว่า 5 ปี กลุ่มอายุ 5-9 ปี กลุ่มอายุ 10-14 ปี
มีจำนวนการตายที่เท่าๆกันคือร้อยละ 33 ในแต่ละกลุ่ม จังหวัดที่มีจำนวนเด็กตายมากที่สุด 5 จังหวัดแรกตามลำดับ
ได้แก่ อยุธยา พิจิตร นครสวรรค์ สุพรรณบุรี และนนทบุรี รวม 5 จังหวัดนี้มีเด็กตายร้อยละ 67.3 (41ราย)

เด็กที่ตายจากภาวะน้ำท่วมนี้ เป็นการตายจากการจมน้ำ 60 รายคิดเป็นร้อยละ 98 ของการตายในเด็กทั้งหมด และเป็นงูกัด 1 ราย


ไม่มีการตายจากไฟฟ้าลัดวงจรในกลุ่มเด็ก แต่มีรายงานในผู้ใหญ่จำนวน 61รายจาก 664 ราย (9.1%)
จังหวัดนนทบุรีและนครปฐมเป็นจังหวัดที่มีอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจรสูงสุด

โดยนนทบุรีไฟฟ้าลัดวงจรเป็นสาเหตุการตายถึง ร้อยละ 35 ของการตายทั้งหมด (14 ราย ใน 40 ราย)
ขณะที่นครปฐมมีรายงานถึงร้อยละ 30 (11รายใน 36 ราย)

 
     
  จมน้ำในแต่ละกลุ่มอายุเด็ก มีเหตุและแนวทางป้องกันในระดับชุมชนที่แตกต่างกันดังนี้>  
  ตัวอย่างการตายในกลุ่มเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี>  
  ตัวอย่างการตายในกลุ่มเด็กอายุ 5-9 ปี>  
  ตัวอย่างการตายในกลุ่มเด็กอายุ 10-14 ปี>  
  ภาพกิจกรรมจัดงานที่ไบเทคบางนา>  
  เรื่องน่ารู้สู่ความปลอดภัยเมื่อน้ำท่วม>