website design software mac

สนช. แนะ 5 ทักษะ เด็กเอาตัวรอดจากจมน้ำ
พร้อมดันมาตรการ สอนเด็กบีบแตร เมื่อติดในรถ
และมีกฎหมายนำเด็กไปชกมวย
พร้อมแก้ขอทานเด็กต่างด้าว เป็นวาระเร่งด่วน

13 พ.ค. 59 คณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชนฯ สนช.

แนะ 5 ทักษะ เด็กเอาตัวรอดจากจมน้ำ พร้อมดันมาตรการ สอนเด็กบีบแตร เมื่อติดในรถ และมี กม. นำเด็กไปชกมวย พร้อมแก้ขอทานเด็กต่างด้าว เป็นวาระเร่งด่วน


นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ แนะ ร.ร. สอนทักษะเด็กแก้จมน้ำ จี้ ควบคุมความปลอดภัยรถโรงเรียน กันลืมเด็กในรถจนเสียชีวิต เล็งสอนให้เด็กรู้จักบีบแตร


นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และ รศ. นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมแถลงถึง สาเหตุการเสียชีวิต และวิธีเอาตัวรอดจากอันตรายที่เกิดขึ้นในเด็กเล็ก


โดยระบุว่า กระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว พร้อมชี้ว่า ที่ผ่านมาสาเหตุการณ์ตายอันดับหนึ่งในเด็ก คือ การจมน้ำ ที่ในหนึ่งปี มีมากกว่า 1000 ราย ดังนั้น 5 ทักษะ ที่โรงเรียนควรปลูกฝังเพื่อให้เด็กเอาตัวรอดจากอันตรายที่จะเกิดขึ้น ได้แก่ เรียนรู้จุดเสี่ยง / ลอยตัวในน้ำได้ 3 นาที / เคลื่อนตัวในน้ำได้ 15 เมตร / ช่วยเพื่อนถูกวิธี “ตะโกน โยน ยื่น” / และการใช้ชูชีพเมื่อต้องเดินทางทางน้ำ


ขณะเดียวกัน พบว่า กรณีการลืมเด็กไว้ในรถยนต์จนเสียชีวิต ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางกรรมาธิการ เห็นด้วยกับมาตรการที่ให้โรงเรียนสอนให้เด็กเรียนรู้ที่จะบีบแตร ให้บุคคลข้างนอกรู้ตำแหน่งเพื่อช่วยเหลือได้ทันท่วงที โดยกรรมาธิการฯ จะผลักดันเป็นวาระเร่งด่วน ควบคู่เสนอมาตรการ ให้โรงเรียนต้องฝึกอบรมคนขับรถและครูประจำรถ ให้มีความระมัดระวังและรอบคอบในการปฏิบัติหน้าที่ โดยให้คำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กขณะที่อยู่ในรถเป็นสำคัญ ต้องตรวจนับจำนวนเด็กขึ้น-ลงให้ถี่ถ้วน และมีครูผู้ช่วยดูแลเด็กในรถเสมอ



ด้าน นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า

ความปลอดภัยในเด็กพบว่ายังการเสียชีวิตยังไม่ลดลง ซึ่ง 36 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากความรุนแรงและจมน้ำ และ 60 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากโรคต่าง ๆ


ซึ่ง 10 ปีที่ผ่านมาเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำเป็นอันดับหนึ่งแต่ละปี 1,400 – 1,600 คน

แต่ปัจจุบันลดลงเหลือ 1,100 คน แต่เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ลดลง แต่ 5 – 12 ปี ลดลงน้อยมาก


ดังนั้น อยากให้ทางโรงเรียนสร้างทักษะความปลอดภัยในเด็ก โดยเด็กต้องเรียนรู้จุดเสี่ยง การลอยตัวในน้ำ การช่วยชีวิตเพื่อนอย่างถูกวิธี การใช้ชูชีพในการเดินทางทางน้ำ ซึ่งทักษะเหล่านี้เด็กจะต้องได้รับการเรียนรู้ก่อนจบชั้นประถมปีที่ 1

นพ.อดิศักดิ์ กล่าวว่า ส่วนการปล่อยเด็กไว้ในรถเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ

กรณีรถบ้านคือ พ่อ – แม่ผู้ปกครองลืมเด็กไว้ในรถ ทำให้เด็กเสียชีวิตภายใน 2 ชั่วโมง เนื่องจากอากาศร้อนสูงเกินขนาด แต่ไม่ใช่ขาดอากาศหายใจ


กรณีรถสาธารณะไม่เรียกว่าเป็นการลืมเด็ก

แต่ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของรถโรงเรียน ซึ่งจะต้องมีการนับเด็กทุกครั้งที่ลงจากรถ ถือเป็นการบกพร่องการให้บริการขั้นต่ำ ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุทางโรงเรียนอ้างไม่ใช่รถโรงเรียนแต่เป็นรถของผู้ประกอบการภายนอก ขณะที่สคบ.ก็มองว่ารถโรงเรียนก็เป็นไปตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ เพราะฉะนั้นจะต้องพัฒนาวิธีการปฏิบัติ และหน่วยควบคุมมาตรการความปลอดภัยของรถโรงเรียน


นายวัลลภ กล่าวว่า จะทำเรื่องเสนอไปยังรัฐบาลเป็นการเร่งด่วนในการแก้ปัญหาเรื่องลืมเด็กไว้ในรถ โดยให้ทุกโรงเรียนได้สอนเด็กรู้วิธีบีบแตร ซึ่งจะช่วยได้เมื่อยู่ในรถ ขณะเดียวกันจะต้องมีครูนั่งอยู่ในรถไปด้วยเสมอ จะได้ช่วยตรวจนับจำนวนเด็กนักเรียน