โครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “นักเรียนเดินเท้าปลอดภัย..เพราะคุณครูใจดี” ครั้งที่ 8
(Teacher Training Workshop)
ณ ห้องประชุมโรงเรียนปัว อาเภอปัว จังหวัดน่าน
(เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Safe Kids Walk This Way, FY16)
วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม 2558 เวลา 08.00-13.00 น.
ความเป็นมา
อุบัติเหตุทางถนนเป็นปัญหาสาคัญที่ทุกประเทศกาลังเผชิญอยู่ แนวโน้มมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บสูงขึ้น องค์การอนามัยโลกระบุว่าในแต่ละปีอุบัติเหตุทางถนนได้คร่าชีวิตเด็กไปจานวนมาก เฉลี่ยวันละ 500 คน หรือในทุก 3 นาทีจะมีเด็ก 1 คนตายจากอุบัติเหตุทางถนน
จากสภาพปัญหาดังกล่าว องค์การสหประชาชาติได้เรียกร้องให้ทุกประเทศให้ความสาคัญกับเรื่องความปลอดภัยทางถนนตามกรอบปฏิญญามอสโก จนนาไปสู่การประกาศให้ ปี ค.ศ.2011-2020 (พ.ศ. 2554-2563) เป็นทศวรรษแห่งการปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (Decade of Action for Road Safety) โดยมีเป้าหมายลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของทั้งโลกถึงร้อยละ 50 ในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ.2563) และในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015) นี้ องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้เป็นปีแห่งการรณรงค์ the Third United Nations Global Road Safety Week (4-10 May 2015) โดยมีธีม #SaveKidsLives www.savekidslives2015.org เน้นความปลอดภัยทางถนนในกลุ่มเด็ก
สถานการณ์ในประเทศไทย จราจรเป็นสาเหตุการตายของเด็กอันดับสองของเด็ก (จมน้าอันดับหนึ่ง) ประมาณ 1,000 รายต่อปี สาเหตุหลักมาจากรถมอเตอร์ไซค์ ทั้งการขับขี่ก่อนวัย (ทั้งๆ ที่กฎหมายกาหนดห้ามผู้มีอายุต่ากว่า 15ปีขับขี่มอเตอร์ไซค์) เมาแล้วขับ ขับเร็ว และไม่สวมหมวกนิรภัย (ทั้งๆ ที่กฎหมายกาหนดให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารต้องสวมหมวกนิรภัย) จากการสารวจของศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก พบว่ามีผู้โดยสารเด็กไม่สวมหมวกนิรภัยถึงร้อยละ 93.2 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กตายจากอุบัติเหตุรถยนต์จานวนสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลสาคัญ เช่น สงกรานต์และปีใหม่ สาเหตุหลักมาจากการไม่ใช้ระบบยึดเหนี่ยวเด็กในรถหรือที่นั่งนิรภัย
กลุ่มเด็กเดินเท้า จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงจากการถูกรถชนขณะเดินไปกลับบ้านและโรงเรียน พบการเสียชีวิต 100 กว่ารายต่อปี ในขณะที่การบาดเจ็บ มีจานวน 2,000 กว่ารายต่อปี ความเสี่ยงทางถนนที่เด็กต้องเผชิญมีแนวโน้มสูงขึ้นจากสภาพความเป็นเมืองและความเจริญทางเศรษฐกิจ อีกทั้งเด็กจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง (Vulnerable group ที่รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้พิการ) ที่ต้องได้รับการดูแลปกป้องเป็นพิเศษ
ในเส้นทางที่เด็กต้องเดินไปโรงเรียนหรือไปตามที่ต่างๆ พบว่ามีความเสี่ยง เช่น สภาพถนน ทางเท้า และเครื่องอานวยความปลอดภัยสาหรับผู้เดินเท้า ไม่เอื้ออานวยให้เด็กเดินและข้ามถนนอย่างปลอดภัย, มีบุคคลเสี่ยง เช่น ขี้เหล้า เมายา จี้ปล้น และสุนัขจรจัดในระหว่างทางที่เด็กเดิน และความเสี่ยงด้านพฤติกรรม เช่น ผู้ใหญ่มักประเมินความสามารถของเด็กสูงเกินไป เด็กอายุต่ากว่า 10 ปี ยังขาดความชานาญและความสามารถในการใช้รถใช้
ถนนอย่างปลอดภัย, เด็กๆ อาจจะทาอะไรที่เราคาดไม่ถึง เช่น อยู่ๆ ก็วิ่งออกมาบนถนน วิ่งออกมาจากด้านหลังรถที่จอดอยู่ข้างทาง, เด็กตัวเล็กๆ ต้องลงไปเดินบนถนนเพราะทางเท้าไม่มีที่ให้เดินหรือไม่มีทางเท้าให้เดิน
ดังนั้น เพื่อให้เด็กๆ มีความรู้และทักษะการเดินเท้าที่ปลอดภัย ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับคนเดินเท้า จึงเป็นที่มาของโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “นักเรียนเดินเท้าปลอดภัย.. เพราะคุณครูใจดี” ครั้งที่ 8 เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลความปลอดภัยในการเดินและข้ามถนนของนักเรียนแก่บุคลากรครู และครูสามารถดาเนินการให้ความรู้นักเรียนต่อได้อีก เพราะครูคือหัวใจสาคัญในการปลูกฝังและติดอาวุธความปลอดภัยให้กับนักเรียนได้
วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลความปลอดภัยในการเดินและข้ามถนนของนักเรียนแก่บุคลากรครู และครูที่ผ่านการอบรมสามารถกลับไปให้ความรู้นักเรียนได้
กลุ่มเป้าหมาย
ครู จำนวน 150 ท่าน จากโรงเรียนระดับประถมศึกษา ในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 2 จังหวัดน่าน
เป้าหมาย: เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลความปลอดภัยในการเดินและข้ามถนนของนักเรียนแก่บุคลากรครู และสามารถกลับไปดาเนินการให้ความรู้นักเรียนได้
ในวันที่ 16 สิงหาคม 2558 นายประสิทธิ์ ชาวแหลง รอง ผอ.สพป.น่าน เขต 2 ได้เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “นักเรียน…
Posted by ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รพ.รามาธิบดี on Wednesday, August 19, 2015