เวทีสาธารณะ“เร็วให้ถูกเลน ประเมินเป็น เว้นระยะ = ลดความเสี่ยง”

เวทีสาธารณะ“เร็วให้ถูกเลน ประเมินเป็น เว้นระยะ = ลดความเสี่ยง”
เมื่อวันที่ 26 ก.ค.65 – ทีมงานศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก รพ.รามาธิบดี เข้าร่วมงาน เวทีสาธารณะ“เร็วให้ถูกเลน ประเมินเป็น เว้นระยะ = ลดความเสี่ยง”

โดย สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ และ สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดเวทีสาธารณะประเด็น “ เร็วให้ถูกเลน ประเมินเป็น เว้นระยะ = ลดความเสี่ยง” เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในการใช้ความเร็วที่เหมาะสม กระตุ้นจิตสำนึกความปลอดภัยแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน ร่วมตรวจสอบ แนะนำ ขับเคลื่อนการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการความเร็วบนท้องถนนของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์ ผู้จัดการศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ดร.ทรงฤทธิ์ ชยานันท์ วิศวกรโยธาเชี่ยวชาญ กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคมพล.ต.ต.เอกราช ลิ้มสังกาศ ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง ศ.ดร.กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์ ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

ดำเนินเวทีเสวนาโดย นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) ณ โรงแรมรามาการ์เด้นท์ ถ.วิภาวดี เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ

ทั้งนี้ ในเวทีได้มีข้อมูลสำคัญคือ แนะใช้ความเร็วที่เหมาะสม ลดความเสี่ยงมากที่สุด พบแต่ละปีผู้โดนใบสั่งเฉพาะความเร็วมีมากกว่า 6-8 ล้านใบต่อปี ไม่ไปจ่ายค่าปรับ-ทำผิดซ้ำกว่า 80 % ต่อไปหากทำผิดกฎจราจรต้องโดนตัดคะแนนความประพฤติ โดยทุกคนที่มีใบอนญาตขับขี่ จะมี 12 คะแนน หากทำผิดจะถูกตัดคะแนนตั้งแต่ 1-4 คะแนน ซึ่งขับเร็วเกินกำหนด จะถุูกตัดแต้ม 1 คะแนน และหากถูกตัดเหลือศูนย์แต้ม จะพักใช้ใบขับขี่ 90 วัน หากมีการขับรถในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มีผลบังคับใช้ 9 มกราคม 2566

นอกจากนี้ยังมีการเสนอมาตรการที่ควรถูกนำมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อมุ่งเน้นขับเคลื่อนการจัดการความเร็วในประเทศไทย คือ
1.การกำหนดความเร็วจำกัดที่เหมาะสมและเป็นที่รับรู้ของประชาชน
2. การพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพของถนนเพื่อการจัดการความเร็ว
3. การยกระดับการบังคับใช้กฎหมายเรื่องความเร็วที่มีประสิทธิภาพ
4. การสร้างจิตสำนึก ความเข้าใจและการรับรู้ของผู้ใช้ถนน เพื่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม
5. การส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนในการจัดการความเร็ว
6. การกำกับติดตาม และประเมินผล



ดูคลิป > https://fb.watch/ewEv04ZY5H/


 

โปรดแสดงความคิดเห็น