ทีมข่าว PPTV สัมภาษณ์ คุณหมออดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
เรื่องเด็กจมน้ำ มหันตภัยร้ายหน้าร้อน
เทปออกอากาศ 29 มีนาคม 2558
คลังเก็บหมวดหมู่: ภัยเด็กจมน้ำ
(20 มี.ค.2558) โครงการ 3 นาที 15 เมตร
ทีมข่าวช่อง 3 ขอสัมภาษณ์
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ผอ.ศูนย์วิจัยฯ เกี่ยวกับเรื่อง
เด็กจมน้ำ และสอนเด็กว่ายน้ำในช่วงปิด
ศูนย์วิจัยเพื่อความปลอดภัยในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี ชี้ปัญหาเด็กจมน้ำติดเสียชีวิตติดอันดับ 1 ในเด็กอายุ 1-9 ปี ผลจากการรณรงค์ให้เด็กเรียนรู้ทักษะความปลอดภัยทางน้ำผ่านโครงการ 3 นาที 15 เมตร พบเด็กเสียชีวิตลดลง
โครงการ 3 นาที 15 เมตร คือ วัคซีนในการป้องกันเด็กจมน้ำ ที่เปิดสอนให้เด็ก ป.1 ได้เรียนรู้เป็นภูมิคุ้มกัน หากเกิดการจมน้ำ ซึ่งเป็นทักษะชีวิตเพื่อความปลอดภัยทางน้ำ 5 ประการ ได้แก่ การสอนให้เด็กรู้จักและหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้จุดเสี่ยง สอนการลอยตัวในน้ำให้ได้อย่างน้อย 3 นาที และต้องสามารถว่ายน้ำท่าอะไรก็ได้ 15 เมตร เพื่อตะกายเข้าฝั่ง นอกจากนี้เด็กๆจะได้เรียนรู้การช่วยเพื่อนที่กำลังจมน้ำให้ถูกวิธี โดยใช้สิ่งของใกล้ตัวโยน หรือ ยื่นให้เพื่อนอย่างเช่น ไม้ ท่อแปป หรือถังที่สามารถช่วยให้ลอยตัวในน้ำ และตะโกนขอความช่วยเหลือได้ และ สุดท้ายคือการปลูกฝังให้ใช้ชูชีพเสมอเมื่อจําเป็นต้องเดินทางทางน้ำ หรือ ต้องทํากิจกรรมใกล้แหล่งน้ำเสี่ยง ซึ่งหัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อความปลอดภัยในเด็ก บอกว่ามาตรการทั้งหมด เพื่อให้เด็กรอดชีวิตจากการจมน้ำ และช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด
ผลจากการรณรงค์และให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำแก่เด็กในโครงการ 3 นาที 15 เมตร พบว่า
แนวโน้มการเสียชีวิตลดลงชัดเจน ในเด็กเล็กอายุ 1-4 ปี เสียชีวิตลดลงจาก 649 คนในปี 2543 เหลือ 295 คน ในปี 2557 ลดลงถึงร้อยละ 46 ซึ่งเด็กวัยนี้มักจมน้ำเสียชีวิตในบ้าน ขณะที่ในเด็กวัยเรียนอายุ 5-9 ปี มีแนวโน้มการเสียชีวิตลดลงแต่น้อยมาก
เทปออกอากาศ 20 มีนาคม 2558
(12 มีนาคม2557) งานประชุมวิชาการ ปัญหาใหญ่ สุขภาพเด็กไทยที่ถูกละเลย
“การบาดเจ็บสมองของเด็กชกมวยไทย”
12 มีนาคม 2557
เริ่มต้นความน่าสนใจด้วยการแสดงศิลปะมวยไทย โดยนักมวยเด็กจากค่ายลานหิมะทองคำ ด.ญ.พรทิพย์ กิจจา และ ด.ญ.นิรุชา สุภาคนธ์ โดยมี จ.ส.อ.ปะวุฒิ นาคมกิจ เป็นครูผู้ฝึกสอน
รศ.พญ.จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ และ อ.ดร.นพ.วิทยา สังข์รัตน์ ภาควิชารังสีวิทยา และศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า (ไอแมค) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
งานวิจัยการบาดเจ็บสมองของเด็กชกมวยไทยด้วยเทคโนโยลีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging -MRI) ที่ทันสมัย ถือเป็นงานวิจัยสมองของเด็กชกมวยไทยชิ้นแรกของประเทศไทยและระดับโลก
มวยไทยเป็นกีฬาประจำชาติไทยและมีชื่อเสียงไกลทั่วโลก ข้อมูลการขึ้นทะเบียนนักกีฬามวยของสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวยปี 2550 พบว่าเด็กไทยเริ่มชกมวยตั้งแต่อายุ 4-16 ปี (อายุเฉลี่ยต่ำกว่า 15 ปี) นักมวยที่อายุน้อยกว่า 15 ปีมีจำนวนถึง 929 คน (ชาย 851 คน /หญิง 78 คน) แต่ตัวเลขนักมวยเด็กอายุ 3-16 ปีที่ไม่ได้ลงทะเบียนน่าจะมีมากกว่าแสนคน
เด็กเริ่มฝึกมวยตั้งแต่ 2ปี และเมื่ออายุ 4-5ปีก็เริ่มขึ้นชกจริง มวยไทยมีประโยชน์ต่อเด็กเช่น ออกกำลังกาย ใช้เวลาว่างเกิดประโยชน์ ไม่ยุ่งเกี่ยวยาเสพติด เสริมทักษะป้องกันตัว รักษาศิลปะวัฒนธรรมไทย สามารถชกเป็นอาชีพหารายได้ช่วยครอบครัว แต่ในทางตรงกันข้ามกลับก่อให้เกิดการบาดเจ็บเรื้อรังเพราะมวยไทยมีการออกอาวุธ เช่น เข่า ศอก หมัด และมักมุ่งเป้าไปที่ศีรษะด้วยความเร็วและแรงบ่อยครั้ง อาจส่งผลให้เด็กตัวเตี้ยแคระแกร็นกว่าเด็กปกติ หากกระดูก
ใบหน้าแตกหักจะทำให้หยุดการพัฒนาการ โดยเฉพาะการแตกช้ำซ้ำรอยเดิมจะทำให้โครงสร้างบิดเบี้ยวจากคนทั่วไป หากนักมวยเด็กได้รับการกระทบกระเทือนที่ศีรษะจะส่งผลโดยตรงต่อสมอง เช่น เยื่อหุ้มสมองฉีกขาด เลือดคั่งในสมอง หมดสติ อัมพาตเฉียบพลัน ภาวะเคลื่อนไหวช้า ความจำเสื่อม หรือสมองเสื่อมในช่วงวัยกลางคน และอาจทำให้เกิดโรคลมชักได้ อีกทั้งสมองมีโอกาสหยุดพัฒนาซึ่งเท่ากับไม่มีการเติบโต ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เป็นภาระแก่ครอบครัวและสังคมในระยะยาว
ศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า (ไอแมค) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ทำงานวิจัยเรื่องการบาดเจ็บสมองในนักมวยเด็ก รวมถึงการตรวจเลือดและทดสอบทางจิตวิทยา โดยเริ่มจากเฝ้าติดตามนักมวยเด็ก 11คน(อายุ 8-12ปี) เพื่อศึกษาการทำงานสมองโดยเฉพาะสมองส่วนจัดเก็บความจำ (ฮิปโปแคมปัส Hippocampus) การสร้างเซลล์ใยสมอง การทำงานของเส้นใยประสาท โดยวิจัยเปรียบเทียบกับเด็กปกติ 200รายที่ไม่ได้ชกมวย (แต่มีเศรษฐานะและสิ่งแวดล้อมการใช้ชีวิตใกล้เคียงกับเด็กที่ชกมวย) พบว่ามีนักมวย 1 รายที่โพรงน้ำในสมองผิดปกติ นักมวยเด็กมีความจำลดลง ไอคิวต่ำกว่า แต่ในทางตรงกันข้ามกลับพบว่าเด็กชกมวยมีทักษะการตอบสนอง (Motor functional) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองทีไม่ต้องผ่านการสั่งการจากสมองมากนัก ถือดีกว่าเด็กปกติทั่วไป
ทั้งนี้กำลังอยู่ระหว่างทำวิจัยสมองต่อเนื่องในกลุ่มเด็กนักมวย 300ราย (ปี 2557-2559)
โดยวิธีการเดียวกัน เพื่อใช้ข้อมูลความผิดปกติทางสมองที่อาจจะเกิดขึ้นกับนักมวยเด็กเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา พ.ร.บ.คุ้มครองนักมวยเด็ก พ.ร.บ.การกีฬา พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก2546 ช่วยกันคิดค้นวิธีการที่จะทำให้เด็กชกมวยได้อย่างปลอดภัย รวมถึงจัดการปัญหาการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากเด็กชกมวย เช่น การพนัน เพื่อส่งเสริมให้มวยไทยสามารถเติบโตเข้าสู่มาตรฐานสากล และพัฒนาเป็นกีฬาระดับประเทศและระดับนานาชาติดังเช่นกีฬาอื่นๆ เช่น เทควันโด โดยเชื่อว่าผลการวิจัยที่มีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมวงการมวยไทย มีข้อมูลทางการแพทย์ที่แน่ชัดที่สามารถใช้เพื่อยืนยันถึงผลกระทบของกีฬาชนิดนี้ ไม่ใช่เพื่อคัดค้านการชกมวยไทย หากแต่เป็นข้อมูลสำคัญที่จะปกป้องและวางแผนการดูแลนักมวยเด็กให้มีความปลอดภัยและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
พันเอกบุญส่ง เกิดมณี (อุปนายกสมาคมกีฬามวยอาชีพแห่งประเทศไทย-สมท.)
เห็นด้วยและสนับสนุนงานวิจัยสมองนักมวยเด็ก ด้วยเล็งเห็นถึงประโยชน์ต่อสุขภาพของเด็กชกมวยไทย และอยากให้พิจารณาหาข้อสรุปถึงประเด็นห้ามไม่ให้เด็กชกมวยเป็นอาชีพเพื่อหารายได้ว่ามีเด็กนักมวยจำนวนมากที่ครอบครัวยากจนและไม่มีค่าเล่าเรียนว่าการชกมวยหารายได้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็กในครอบครัวยากจนเหล่านี้ รวมถึงอยากให้ช่วยกันพิจารณา พ.ร.บ.กีฬามวยเรื่องอายุขั้นต่ำของเด็กที่ขึ้นชกมวยได้ นอกจากนี้เห็นว่าการพนันมวยเป็นสิ่งที่ห้ามยาก
ความเห็นจากผู้ฟัง ผู้เข้าประชุมได้แสดงความคิดเห็นต่อมวยเด็ก เช่น ไม่อยากให้มวยเด็กเป็นอาชีพ เพราะอาจนำมาซึ่งการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก เช่น ใช้แรงงานเด็ก การพนัน ซึ่งขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก 2546 อยากให้มีการส่งเสริมการเรียนการสอนมวยไทย เช่น เปิดโรงเรียนสอน มีหลักสูตรเฉพาะ เฉกเช่นเดียวกับกีฬายอดฮิตอื่นๆ เช่น เทควันโด ยูโด ฯลฯ
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ กล่าวว่า ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า(ไอแมค) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี(ผู้วิจัยหลัก) เห็นสมควรให้มีการส่งเสริมอนุรักษ์กีฬามวยไทยต่อไป มีการเรียนการสอนเรื่องมวยไทยอย่างจริงจัง เช่น เปิดโรงเรียน เปิดหลักสูตร การชกมวยไทยต้องไม่มีเรื่องพนันหาผลประโยชน์จากเด็ก และมีกติกาที่ส่งเสริมความปลอดภัยของเด็กชกมวยให้มากขึ้น และจะจัดเวทีหาข้อสรุปต่อไปในช่วงเดือนพฤษภาคม 2557
“ลดการตายของเด็กจากการจมน้ำ ลงร้อยละ 50 ใน 5 ปีต่อจากนี้”
คุณชฎาพร สุขสิริวรรณ (พยาบาล นักวิจัยศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก)
เปิดประเด็นสถานการณ์จมน้ำในเด็กไทยว่า ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา..จมน้ำครองแชมป์เหตุนำการตายในเด็กมาโดยตลอด โดยใน 11ปีที่ผ่านมา (ปี 2545-2556) มีเด็กจมน้ำตาย 14,789 ราย และพบว่าแนวโน้มการตายลดลงอย่างชัดเจนในกลุ่มเด็กเล็กวัยเตาะแตะและอนุบาลอายุ 1-4 ปี (อัตราตาย17.6 คน ต่อ 100,000 คน) โดยการตายลดลงจาก 637 คนในปี 2545 เหลือ 295 คนในปี 2556 (ลดลงถึง 41%) ซึ่งการตายของเด็กวัยนี้มักจะเป็นจมน้ำตายในบ้านในขณะผู้ดูแลอยู่ใกล้เด็กแต่เผอเรอชั่วขณะ การสื่อความรู้ทั้งโดยตรงและผ่านสื่อสาธารณะทำให้พ่อแม่และผู้ดูแลเด็กรับรู้และจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านรอบบ้านได้ทันที รวมทั้งทำให้มีความตั้งใจระมัดระวังในการดูแลเด็กเล็กใกล้ชิดมากขึ้น
ส่วนเด็กวัยเรียนระดับประถมอายุ 5-9 ปี (อัตราการตายอยู่ที่ 12.6 คน ต่อ 100,000 คน) การตายได้ ลดลงจาก 664 คนในปี 2545 เหลือ 553 คนในปี 2556 (ลดลงเพียง12%) เห็นได้ว่าแนวโน้มการตายลดลงอย่างเชื่องช้า ซึ่งเด็กวัยนี้มักตายในแหล่งน้ำไกลบ้าน และส่วนใหญ่ยังคงเป็นแหล่งน้ำในชุมชนที่เด็กอาศัยอยู่หรือเส้นทางจากบ้านไปโรงเรียน พ่อแม่ไม่ได้เฝ้าดูใกล้ชิดเพราะเป็นวัยเริ่มวิ่งเล่นกับเพื่อนนอกบ้าน ผู้ดูแลมักคิดว่าเด็กวัยนี้จะต้องรู้ความเสี่ยงและหลีกเลี่ยงภัยได้ด้วยตนเอง ส่วนในกลุ่มเด็กโตอายุ 10-14ปี อัตราตายอยู่ที่ 5.2 คนต่อ 100,000คน การตายลดลงอย่างเชื่องช้าเช่นกัน
นอกจากนี้ยังพบว่า ในเดือนเมษายน (ปิดเทอม) มีเด็กจมน้ำตายมากที่สุดในรอบปี รวมถึงปิดเทอมช่วงเดือนตุลาคมอีกด้วย ซึ่งเสนอว่าการสอนทักษะว่ายน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดให้แก่เด็กวัยประถมเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นเร่งด่วน ซึ่ง 5 ทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้แก่ เรียนรู้สิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการจมน้ำ ลอยตัวในน้ำได้นาน 3 นาที ว่ายน้ำเคลื่อนที่ในน้ำได้ไกล 15 เมตร ช่วยคนอื่นด้วยการตะโกนโยนยื่น ใช้เสื้อชูชีพทุกครั้งเมื่อเดินทางทางน้ำ รวมถึงต้องฝึกอบรมพ่อแม่ผู้ปกครอง ครู ชุมชนให้มีทักษะทั้ง 5 ด้วย
นพ.ประวิ อ่ำพันธุ์ (นายแพทย์สาธารณสุข จ.ศรีสะเกษ) เด็กจมน้ำเป็นปัญหาหลักและมีอัตราการตายสูง เสนอให้กุมารแพทย์/พยาบาลมีบทบาทด้านให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในคลินิก Well baby ลงพื้นที่ให้ความรู้ชุมชน และสามารถเก็บข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลเด็กจมน้ำในพื้นที่ที่โรงพยาบาลรับผิดชอบได้
นายแสงไทย มีสุนทร (ผู้อำนวยการสำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) มีระเบียบการดูแลเด็กไม่ให้จมน้ำในโรงเรียน มีหลายภาคส่วนที่เข้ามาส่งเสริมให้ความรู้แก่เด็กและมีทักษะทางน้ำ อีกทั้ง สพฐ.มีนโยบายจัดสรรงบประมาณสอนนักเรียนว่ายน้ำและทักษะช่วยชีวิตไปยังโรงเรียนในสังกัด (พื้นที่ละ 1แสนบาท) อยู่ระหว่างดำเนินการ และอยากให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกัน
คุณสุชาดา เกิดมงคลการ (นักวิชาการ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) เปิดเผยการสำรวจข้อมูลพบว่าเด็กไทยว่ายน้ำเป็นแค่เพียง 23.7% และในกลุ่มเด็กอายุ 5-9ปีที่มีสถิติตายจากการจมน้ำลดลงอย่างเชื่องช้าและมีจำนวนถึง 33% ของประชากรเด็กอายุต่ำกว่า15ปีทั้งหมดของประเทศ ซึ่งต้องเร่งรีบช่วยกันแก้ปัญหาในเด็กกลุ่มดังกล่าว นอกจากนี้ยังพบว่าภาคอีสานครองแชมป์พื้นที่เด็กจมน้ำตายมากที่สุด รองลงมาคือภาคกลาง ภาคใต้ตามลำดับ
กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายส่งเสริมวัคซีนป้องกันการจมน้ำ ตั้งเป้าจากนี้จนถึงปี 2561 สถิติเด็กจมน้ำตายต้องลดลงเหลือ 38รายต่อปี ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
คุณสลักจิต สกุลรักษ์ (นักวิชาการสำนักงานสาธารณสุข จ.สุรินทร์)
จ.สุรินทร์ครองแชมป์จังหวัดที่มีเด็กจมน้ำตายสูงสุดในภาคอีสาน! และได้ถูกคัดเลือกจากกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นหนึ่งในจังหวัดนำร่องป้องกันแก้ไขปัญหาเด็กจมน้ำ และประสบความสำเร็จจากความตั้งใจจริงและความร่วมมือช่วยเหลือจากเครือข่าย เช่น โรงเรียน อบจ. อบต. ฯลฯ ซึ่งกลยุทธ์นำไปสู่ความสำเร็จยั่งยืน อาทิ มีแกนนำทำงาน การมีส่วนร่วม การบริหารจัดการโครงการที่ดี ตรวจสุขภาพคัดกรองเด็ก อบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น การสร้างกระแส ขยายผล
ความเห็นจากผู้ฟัง
กุมารแพทย์: เสนอให้ชักชวนผู้ปกครองมาร่วมมือกับโรงเรียนในการสอนเด็กว่ายน้ำเป็นและทักษะการช่วยเหลือ เพราะเชื่อว่าผู้ปกครองรักลูกและเต็มใจให้ความร่วมมือแน่นอน
สมาคมผู้ฝึกสอนว่ายน้ำ: เห็นว่าการลอยตัวได้ 3 นาทีอาจไม่ช่วยชีวิตได้เต็มที่เพราะน้ำไม่นิ่งพอ น้ำเข้าปากเด็กสำลักจนตกใจลนลาน เสนอว่าควรเน้นสอนพยุงตัวในน้ำ (ท่าลูกหมา) ว่ายน้ำให้เป็นจะดีที่สุด
คณะพลศึกษา มศว.: Life saving ในหลักสูตรการสอนพลศึกษาไม่ค่อยมีผู้สนใจเรียน และมีผู้สอนจำนวนน้อยมาก แต่คณะพลศึกษา มศว.ยินดีนำไปขยายผลกับชุมชนในละแวกมหาวิทยาลัย
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย คุณชฎาพร สุขสิริวรรณ กล่าวว่า กุมารแพทย์/พยาบาลสามารถดำเนินการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเด็กจมน้ำและคืนข้อมูลแก่พื้นที่เพื่อไปขยายผลต่อ จัดอบรมสาธิตการช่วยเหลือคนจมน้ำ ปฐมพยาบาล และจัดสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย เช่น มีอุปกรณ์ช่วยเหลือคนตกน้ำติดตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ส่งเสริมการสอนทักษะการว่ายน้ำและเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ ส่งเสริมใช้เสื้อชูชีพทุกครั้งที่เดินทางทางน้ำ
album: ปัญหาใหญ่ สุขภาพเด็กไทยที่ถูกละเลย.
พุธที่ 12 มีนาคม2557ในงานประชุมวิชาการปัญหาใหญ่ สุขภาพเด็กไทยที่ถูกละเลย- การบาดเจ็บสมองของเด็กชกมวยไทย-ลดการตายของ…
Posted by ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รพ.รามาธิบดี on Wednesday, March 12, 2014
05 สิงหาคม 2557 รายการสะพานสายรุ้ง Ture 71 ในโครงการสื่อสร้างสังคมอุดมสุข มูลนิธิเด็ก พูดคุยเกี่ยวกับ เรื่องอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในเด็ก และอุบัติเหตุต่างๆที่เกิดขึ้นกับเด็ก
รายการสะพานสายรุ้ง Ture 71
ในโครงการสื่อสร้างสังคมอุด
คุณหมออดิศักดิ์และคุณพิภพ ธงไชย
พูดคุยเกี่ยวกับ เรื่องอุปกรณ์เพื่อความปลอด
และอุบัติเหตุต่างๆที่เกิดข
รายการสะพานสายรุ้ง Ture 71 ในโครงการสื่อสร้างสังคมอุดมสุข มูลนิธิเด็ก คุณหมออดิศักดิ์และคุณพิภพ ธงไชยพูดคุยเกี่ยวกับ…
Posted by ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รพ.รามาธิบดี on Tuesday, August 5, 2014
17 มิถุนายน 2557 ให้สัมภาษณ์ รายการ เปิดปม(ไทยพีบีเอส) เรื่อง…เด็กกับภัยจมน้ำ.
รายการ เปิดปม(ไทยพีบีเอส)
สัมภาษณ์
คุณหมออดิศักดิ์-หัวหน้าศูน
เรื่อง…เด็กกับภัยจมน้ำ..
เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.57 เวลา 10.30 น
รายการ เปิดปม(ไทยพีบีเอส)สัมภาษณ์คุณหมออดิศักดิ์-หัวหน้าศูนย์วิจัยฯเรื่อง…เด็กกับภัยจมน้ำ…เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.57 เวลา 10.30 น.
Posted by ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รพ.รามาธิบดี on Monday, June 16, 2014
09 เมษายน 2557 ให้สัมภาษณ์กับทีมงานเรื่องจริงผ่านจอ คลิปเด็กจมน้ำ
วันที่ 9 เม.ย.57 เวลา 13.10 น.
รศ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผอ.ศูนย์วิจัยฯ
ให้สัมมภาษณ์กับทีมงาน” เรื่องจริงผ่านจอ ” ทางช่อง7
เกี่ยวกับคลิปเด็กตกลงในบ่อ
วันที่ 9 เม.ย.57 เวลา 13.10 น.รศ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผอ.ศูนย์วิจัยฯให้สัมมภาษณ์กับทีมงาน” เรื่องจริงผ่านจอ ” ทางช่อง7เกี่ยวกับคลิปเด็กตกลงในบ่อน้ำ และสถานการณ์การเสียชีวิตในเด็กจากการจมน้ำ
Posted by ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รพ.รามาธิบดี on Wednesday, April 9, 2014
09 เมษายน 2557 ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าว 365 POST NEWS
วันที่ 9 เม.ย.57 เวลา 12.20 น.รศ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผอ.ศูนย์วิจัยฯให้สัมภาษณ์กับทีมข่าว 365 POST NEWS โดย Post…
Posted by ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รพ.รามาธิบดี on Wednesday, April 9, 2014
ประชุมเชิงปฎิบัติการ มาตรการและแนวทางสร้างความปลอดภัยทางน้ำแก่นักเรียน 3 นาที 15 เมตร
ประชุมเชิงปฎิบัติการ มาตรการและแนวทางสร้างความป
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2557
ณ โรงแรมเอเชีย กทม.
ศูนยวิจัยเพื่อสรางเสริมควา
100,000 คน ในขณะทกลมเดกอายุ 5-9 ป มอตราการตายอยท 12.6 คน ตอ 100,000 คน และกลมเด็กอาย
10-14 ป อยท 5.2 คน ตอ 100,000 คน แตทงน้เม่อพิจารณาแนวโนมของ
โดยเดอนทมการจมนาตายมากทสดค
ประชุมเชิงปฎิบัติการ มาตรการและแนวทางสร้างความปลอดภัยทางน้ำแก่นักเรียน 3 นาที 15 เมตรเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 57 ณ โรงแ…
Posted by ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รพ.รามาธิบดี on Monday, March 24, 2014