คำเตือนของการปนเปื้อนกัญชาในอาหารและขนม

เนื่องในวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายนเป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวมหาวิทยาลัยมหิดล

จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านสื่อสารมวลชนช่วยกรุณาเผยแพร่ข้อมูลคำเตือนของการปนเปื้อนกัญชาในอาหารและขนมโดยปราศจากคำเตือนอันตรายแก่เด็กสตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร  แก่ครอบครัวนักท่องเที่ยวจากหลากหลายประเทศที่เข้ามาสู่ประเทศไทย

เพื่อประโยชน์แก่การคุ้มครองเด็กถ้วนหน้าทุกสัญชาติจากภัยยาเสพติดที่ทำลายสมองของเด็ก อ่านเพิ่มเติม

ประกวดราคาจ้างการดำเนินงานเผยแพร่ต้นแบบเกมส์ออนไลน์เพื่อส่งเสริม ความปลอดภัยและเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว

ประกาศ มูลนิธิสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก เรื่อง ประกวดราคาจ้างการดำเนินงานเผยแพร่ต้นแบบเกมส์ออนไลน์เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยและเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว

อ่านเพิ่มเติม

ความสูญเสียจากโควิด 19 กระทบพัฒนาการเด็กปฐมวัย

ความสูญเสียจากโควิด 19 กระทบพัฒนาการเด็กปฐมวัย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้สัมภาษณ์ในรายการ สุขหยุดโรค เกี่ยวกับ โควิด 19 กระทบพัฒนาการเด็กปฐมวัย เมื่อวันที่ 19 ก.ย.2564

อ่านเพิ่มเติม

ศูนย์เด็กเล็กต้นแบบ New normal

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล ร่วมกับศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก รพ.รามาธิบดี และคณะผู้บริหารและบุคลากร สถาบันฯ ได้ให้การต้อนรับ ร้อยตรี พงศธร ศิริสาคร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมและคณะฯ

อ่านเพิ่มเติม

ค่ายเสริมทักษะความปลอดภัยโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก จ.กาญจนบุรี ระหว่างวันที่ 22-23 มิ.ย.2562

ค่ายเสริมทักษะความปลอดภัยโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก จ.กาญจนบุรี ระหว่างวันที่ 22-23 มิ.ย.2562

ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี
และสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล ร่วมกับ มูลนิธิเด็ก โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก จ.กาญจนบุรี จัดโครงการค่ายฉลาดรู้ 10 ทักษะความปลอดภัย

อ่านเพิ่มเติม

จัดประชุมเพื่อชี้แจงการดำเนินงาน ( 17 ธ.ค.2560 )

วันอาทิตย์ ที่ 17 ธันวาคม 2560
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์และทีมงานศูนย์วิจัยฯ ได้จัดประชุมเพื่อชี้แจงการดำเนินงานบูรณาการโครงการการป้องกันการบาดเจ็บในเด็กปฐมวัย โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กของรัฐ ณ ห้อง 621 อาคารเรียนรวม รพ.รามาธิบดี ให้แก่คุณครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในกทม.และชุมชนเขตราชเทวี เพื่อวางแผนการดำเนินงานในขั้นต่อไป

อ่านเพิ่มเติม

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้บุกเบิกงานอุบัติเหตุในเด็ก

 

ceo

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้บุกเบิกงานอุบัติเหตุในเด็ก

“จริงๆ ก็พอใจกับงานที่ทำอยู่เพราะทุกอย่างจะเอาอุดมคติที่ต้องปลอดภัย
100 เปอร์เซ็นต์ ก็เป็นไปไม่ได้

เพียงแต่ขอให้มีระบบหนึ่งที่อยู่ยั่งยืนยง
ที่คอยตรวจสอบว่าอะไรที่จะเป็นอันตรายต่อเด็ก
เพราะวันข้างหน้าก็จะมีวัสดุชนิดใหม่ๆ ออกมา”

11114045_858940224154186_1987229109186569550_o

เป็น คำกล่าวของ รศ. นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและ
ป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ต่องานที่บุกเบิก
เพื่อสร้างความปลอดภัยของเด็กจากอุบัติเหตุและความรุนแรง

ผมเรียนจบจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ปี พ.ศ. 2529 หลังจากเรียนจบได้ไปใช้ทุน
ที่โรงพยาบาลค่ายสุริยพงศ์ จังหวัดน่านอยู่ 3 ปี
หลังจากนั้นก็ขอทุนโรงพยาบาลไปเรียนต่อทางด้านกุมารเวชศาสตร์
แล้วก็กลับมาทำงานที่เดิม จากนั้นได้ขอย้ายมาทำงานในฐานะ
อาจารย์ที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

สาเหตุที่ผมเลือกเรียนด้านกุมารเวชศาสตร์นั้น
เพราะผมมองว่าปัญหาสุขภาพเด็ก นอกจากเกี่ยวข้องกับสุขภาพแล้ว
หากมองลึกลงไปแล้ว ยังมีเรื่องนโยบายอยู่เบื้องหลังด้วย เช่น
ปัญหาทารกน้ำหนักตัวน้อย สาเหตุหนึ่งมาจากการที่มารดา
ได้รับโภชการที่ไม่ดี และหากวิเคราะห์กันให้ลึกลงไปถึงสาเหตุว่า
ทำไมมารดาจึงไม่ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์

สาเหตุที่แท้จริงก็มาจากการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม
จึงทำให้ไม่มีเงินซื้ออาหารที่มีประโยชน์

ส่วนที่ผมเข้ามาจับงานด้านการป้องกันอุบัติเหตุและ
ความรุนแรงในเด็กนั้น เพราะเป็นหลักปฏิบัติว่า
เวลาที่เด็กมาฉีดวัคซีน กุมารแพทย์ต้องแนะนำ
การดูแลสุขภาพซึ่งมีทั้งหมด 7 เรื่อง

หนึ่งในนั้นคือการป้องกันอุบัติเหตุ
แต่เท่าที่ผ่าน มาไม่มีการแนะนำเลยแม้กระทั่งการสอน
เป็นเพียงสิ่งที่บอกให้ทำแต่ไม่มีการกระทำ
สาเหตุเพราะหนึ่งไม่มีผู้สอน สองไม่เห็นความสำคัญ และสามเสียเวลา

แต่เมื่อมาพิจารณาสถิติการตาย
ผมพบว่าในเด็กตั้งแต่อายุ 1 ขวบขึ้นไป
มีอัตราการตายจากอุบัติเหตุสูงขึ้น
เพราะเหตุนี้ผมจึงได้หันมาสนใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง
เมื่อมาศึกษาอย่างจริงจังทำให้ค้นพบอีกว่าในต่างประเทศก็ประสบกับปัญหานี้เช่นกัน

ผมคิดว่าการจะแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ต้องแก้ไขโดยการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม เช่น
ปัญหาอุบัติเหตุในสนามเด็กเล่น
ต้องเปลี่ยนพื้นของสนามมาเป็นพื้นที่สามารถดูดซับพลังงาน
เครื่องเล่นก็ต้องยึดติดกับพื้นสนาม

สิ่งที่เราได้ทำเพื่อแก้ปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรม
คือการจัดตั้งศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัย
และป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก

โดยได้ก่อตั้งเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2545
ซึ่งก่อนหน้าที่จะเกิดศูนย์นี้ ผมได้ไปเสนองานวิจัยเรื่อง
“การทบทวนการตายของเด็กเนื่องจากอุบัติเหตุ”
ซึ่งได้ทุนจากองค์การอนามัยโลก

ในครั้งนั้นได้เชิญองค์กรที่เกี่ยวข้องมาร่วมรับฟังปัญหา
หลังจากการประชุมก็เกิดแนวคิดร่วมกันว่าน่าจะตั้งหน่วยงานหนึ่งขึ้นมา
เพื่อผลิตความรู้และเป็นหน่วยงานกลางคอยประสานกับองค์กรต่างๆ
เพราะการจะแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุในเด็กต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายองค์กร

243096_527921617256050_792308063_o

หน้าที่ของเราคือให้ข้อมูลแล้วส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ
ตัวอย่างผลงานที่ผ่านมาคือการออกกฎหมายให้เปลี่ยนชื่อรถหัดเดิน
เป็นรถพยุงตัว เพราะจากการศึกษาเราพบว่ารถหัดเดินก่อให้เกิด
อาการบาดเจ็บในเด็ก การใช้คำว่ารถหัดเดินจึงก่อให้เกิดการเข้าใจผิด

หลังจากเปิดเผยข้อมูลนี้ในการประชุมกับ
สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) แล้ว
หลังจากนั้น สคบ. ก็ออกกฎหมายให้ผู้ผลิตต้องเปลี่ยนชื่อ
และปิดฉลากคำเตือนที่ตัวรถด้วยว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่ได้ช่วยหัดเดิน
แต่ยังทำให้การพัฒนาการของเด็กล่าช้าและเกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ
ดังนั้นต้องมีผู้ดูแลใกล้ชิดอยู่ตลอดเวลา

รศ. นพ.อดิศักดิ์ กล่าวทิ้งท้ายถึงสิ่งที่เป็นพลังขับเคลื่อนให้ทำงานดังกล่าวต่อไป
แม้ต้องเผชิญกับปัญหาอะไรก็ตามว่า

“สิ่งที่คอยขับเคลื่อนคือ ความชอบ เพราะผมสนใจงานที่ทำอยู่

เมื่อทำก็สนุกอุปสรรคจึงไม่เป็นอุปสรรค ความยากลำบากจึงไม่มี”Ž

(15 พ.ค.2558 ) เข้าพบ หน่วยทหาร ศูนย์ปรองดอง วัดบางบ่อ

9321

(15 พ.ค.2558 เวลา 16.30 น.)
ทีมงานศูนย์วิจัยฯ เข้าพบ
หน่วยทหาร ศูนย์ปรองดอง วัดบางบ่อ
เพื่อพบปะพูดคุยเกี่ยวกับความปลอดภัยในชุมชนDSC_0019

ณ วัดบางบ่อ จ.อยุธยา