วันที่ 7 เมษายน 2558 เวลา 10.00 -11.30 น
ณ อาคารเรียนและปฏิบัติการรวม ด้านการแพทย์และโรงเรียนพยา บาลรามาธิบดี ชั้น 9 ห้อง 910 A
10.00-แถลงข่าว
อากาศสดใสไร้ควันบุหรี่ “สิทธิของใคร” โดย
oศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต วาทีสาธกกิจ
เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่ อการไม่สูบบุหรี่
oศาสตราจารย์นายแพทย์รณชัย คงสกนธ์
เลขาธิการสมาพันธ์เครือข่าย แห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบ ุหรี่
oรองศาสตราจารย์ ดร.พรรณวดี พุธวัฒนะ
รองคณบดีฝ่ายสร้างสุขภาพและ วัฒนธรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามา ธิบดี
oรองศาสตราจารย์นายแพทย์อดิ ศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้า งเสริมความปลอดภัยและป้องกั นการบาดเจ็บในเด็ก
10.30-เสวนาในหัวข้อ บุหรี่กับความเป็นธรรมด้านส ุขภาพเด็ก “กฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่ส ่วนบุคคล ที่มีเด็ก”
โดย
oศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต วาทีสาธกกิจ
เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่ อการไม่สูบบุหรี่
oศาสตราจารย์นายแพทย์รณชัย คงสกนธ์
เลขาธิการสมาพันธ์เครือข่าย แห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบ ุหรี่
oนายโสภณ สมพอง
ตัวแทนครอบครัวสู้ภัยบุหรี่
oน.ส.โยษิตา เฉิน
ตัวแทนเยาวชนสู้ภัยบุหรี่
ผู้ดำเนินการเสวนา
รองศาสตราจารย์นายแพทย์อดิ ศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้า งเสริมความปลอดภัยและป้องกั นการบาดเจ็บในเด็ก
VIDEO
รพ.รามาธิบดีจัดเสวนาบุหรี่ มือสองกับความเป็นธรรมด้านส ุขภาพเด็ก
เราอาจคุ้นเคยกันดีกับบุหรี ่มือสอง แต่ตอนนี้ภัยจากควันบุหรี่ม ือสามก็มีความรุนแรง น่ากลัวไม่แพ้กัน โรงพยาบาลรามาธิบดีรณรงค์ให ้คนรอบข้างสร้างสิ่งแวดล้อม ที่ดีให้กับเด็ก โดยเฉพาะพื้นที่ส่วนบุคคล ให้ห่างไกลจากควันบุหรี่
จากการเสวนาในหัวข้อบุหรี่ก ับความเป็นธรรมด้านสุขภาพเด ็ก กฏหมายห้ามสูบบุหรี่ในพื้นท ี่ส่วน บุคคลที่มีเด็ก ซึ่งจัดโดยคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ระบุว่า ควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็ง 10 ชนิด และมีสารพิษ อีก 250 ชนิด ซึ่งบุหรี่มือสองเป็นปัญหาส ุขภาพที่สำคัญของเด็กที่เกิ ดจากผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ชิด จากงานวิจัยพบว่า เด็กทารกที่ได้รับควันบุหรี ่มือสอง มีความเสี่ยงต่อการตายเฉียบ พลันโดยไม่ทราบสาเหตุ ติดเชื้อทางเดินหายใจ เป็นโรคหู ชั้นกลางอักเสบ ภูมิแพ้ หอบหืด ในระยะยาวมีผลต่อโรคปอดเรื้ อรัง มีความเสี่ยงต่อมะเร็งปอดใน อนาคต
จากการศึกษาของโรงพยาบาลราม าธิบดี ในเด็กเล็ก แรกเกิดถึง 6 ปี ซึ่งอยู่ในครอบครัวที่มีคนส ูบบุหรี่ จำนวน 75 ครอบครัว ด้วยการตรวจหาสารพิษจากบุหร ี่ในปัสสาวะเด็ก ที่ได้รับควันพิษมา 48 ชั่วโมงก่อนมารับการตรวจ พบว่า ร้อยละ 76 หรือ 57 รายตรวจพบสารพิษ โดยร้อยละ 42 หรือ 32 ราย ตรวจพบในระดับที่มากกว่า 2 นาโนกรัมต่อ มิลลิลิตร
ซึ่งโดยความเป็นธรรมทางสุขภ าพแล้ว เด็กเหล่านี้ไม่ควรมีสารพิษ บุหรี่ในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสูบบุห รี่ในพื้นที่แคบ เช่น ในรถ ในบ้านที่อยู่ อาศัย แฟลต คอนโด แม้ว่าสถานที่เหล่านี้จะเป็ นสถานที่ส่วนบุคคล แต่การสร้าง สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กให้เป ็นพิษต่อเด็ก ทั้ง ๆ ที่เด็กไม่สามารถช่วยเหลือต นเองได้ เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความไม ่เป็นธรรม ต่อสุขภาพของเด็ก ที่สังคมควรให้ความสนใจ เพื่อให้การคุ้มครองเด็กจาก ควันบุหรี่ในพื้นที่ส่วนบุค คล โดยเริ่มจากพื้นที่ ในรถ ในบ้าน ที่อยู่อาศัยรวมกันหลายยูนิ ต เช่น อพาร์ทเม้นต์ แฟลต คอนโดมิเนียม ที่ต้องใช้อากาศร่วมกันระหว ่างผู้อยู่ อาศัยแต่ละครัวเรือน
VIDEO
นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี
เปิดเผย ถึงผลศึกษาครอบครัวที่มีผู้สูบบุหรี่และมีเด็กเล็กแรกเกิด ถึง 6 ปีจำนวน 75 ครอบครัว พบว่า เกือบ 43 เปอร์เซ็นต์ ของเด็กในกลุ่มที่อยู่ในสภาพแวดล้อมภายในบ้าน ในรถยนต์ที่มีผู้สูบบุหรี่สูดดมควันบุหรี่ที่ตกค้างติดอยู่ตามตัวผู้สูบบุหรี่ ตามเฟอร์นิเจอร์ ตามบรรยากาศภายในบ้านได้มาก พอๆ กับการสูดดมควันบุหรี่โดยตรง
เมื่อตรวจเลือดเด็กกลุ่มนี้จะพบสารโคตินิน อยู่ในตัวเด็กมากถึง 2 นาโนกรัมต่อซีซี ส่งผลให้เด็กป่วยง่าย เช่น ติดเชื้อทางเดินหายใจ , เป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ, ภูมิแพ้ หอบหืด ระยะยาวเสี่ยงเป็นโรคปอดเรื้อรัง และมะเร็งปอด เมื่ออยู่ในวัยกลางคนได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่อาศัยอยู่ภายในคอนโดมิเนียม แฟลต, อพาร์ทเม้นท์ จะได้รับสารโคตินินมากขึ้นถึง 2 เท่า เพราะอากาศถ่ายเทไม่ดี
เพื่อลดความเสี่ยงจากควันบุหรี่ทำร้ายเด็ก จึงควรกำหนดให้พื้นที่ภายในคอนโดมิเนียม อพาร์ทเม้นท์ และภายในรถยนต์ เป็นเขตปลอดบุหรี่เพิ่มเติม เพราะควันบุหรี่ที่ติดอยู่ในสิ่งแวดล้อม หรือ บุหรี่มือ 3 ทำให้เด็กเจ็บป่วยได้มาก พ่อแม่ต้องสูญเสียเงิน ในการรักษาดูแลบุตรในปริมาณมาก
album: -แถลงข่าว อากาศสดใสไร้ควันบุหรี่ “สิทธิของใคร”