(23 มี.ค.2558) ทีมข่าว CCtv.ภาคภาษาอังกฤษ กรณี เด็กต่ำกว่า 6 ขวบ ไม่ควรนั่งมอเตอร์ไซค์

11009185_842940705754138_5002330457119811186_o

กรณี สคบ.ให้ออกคำเตือน เด็กต่ำกว่า 6 ขวบ ไม่ควรนั่งมอเตอร์ไซค์

ทีมข่าว CCtv.ภาคภาษาอังกฤษ
สัมภาษณ์ คุณหมออดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
กรณี สคบ.ให้ออกคำเตือน เด็กต่ำกว่า 6 ขวบ ไม่ควรนั่งมอเตอร์ไซค์
http://www.csip.org/motorcycle.html

Untitlu  album: ทีมข่าว CCtv.ภาคภาษาอังกฤษ

ทีมข่าว CCtv.ภาคภาษาอังกฤษสัมภาษณ์ คุณหมออดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ กรณี สคบ.ให้ออกคำเตือน เด็กต่ำกว่า 6 ขวบ ไม่ควรนั่งมอเตอร์ไซค์ http://www.csip.org/motorcycle.html

Posted by ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รพ.รามาธิบดี on Monday, March 23, 2015

 

( 29 มี.ค.2558) เรื่อง เด็กจมน้ำ มหันตภัยร้ายหน้าร้อน

10422005_846967325351476_8417050491304674208_n

ทีมข่าว PPTV สัมภาษณ์ คุณหมออดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
เรื่องเด็กจมน้ำ มหันตภัยร้ายหน้าร้อน
เทปออกอากาศ 29 มีนาคม 2558

(20 มี.ค.2558) โครงการ 3 นาที 15 เมตร

11070021_839995392715336_2825734294751038691_n

ทีมข่าวช่อง 3 ขอสัมภาษณ์
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ผอ.ศูนย์วิจัยฯ เกี่ยวกับเรื่อง
เด็กจมน้ำ และสอนเด็กว่ายน้ำในช่วงปิดเทอม

ศูนย์วิจัยเพื่อความปลอดภัยในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี ชี้ปัญหาเด็กจมน้ำติดเสียชีวิตติดอันดับ 1 ในเด็กอายุ 1-9 ปี ผลจากการรณรงค์ให้เด็กเรียนรู้ทักษะความปลอดภัยทางน้ำผ่านโครงการ 3 นาที 15 เมตร พบเด็กเสียชีวิตลดลง

โครงการ 3 นาที 15 เมตร คือ วัคซีนในการป้องกันเด็กจมน้ำ ที่เปิดสอนให้เด็ก ป.1 ได้เรียนรู้เป็นภูมิคุ้มกัน หากเกิดการจมน้ำ ซึ่งเป็นทักษะชีวิตเพื่อความปลอดภัยทางน้ำ 5 ประการ ได้แก่ การสอนให้เด็กรู้จักและหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้จุดเสี่ยง สอนการลอยตัวในน้ำให้ได้อย่างน้อย 3 นาที และต้องสามารถว่ายน้ำท่าอะไรก็ได้ 15 เมตร เพื่อตะกายเข้าฝั่ง นอกจากนี้เด็กๆจะได้เรียนรู้การช่วยเพื่อนที่กำลังจมน้ำให้ถูกวิธี โดยใช้สิ่งของใกล้ตัวโยน หรือ ยื่นให้เพื่อนอย่างเช่น ไม้ ท่อแปป หรือถังที่สามารถช่วยให้ลอยตัวในน้ำ และตะโกนขอความช่วยเหลือได้ และ สุดท้ายคือการปลูกฝังให้ใช้ชูชีพเสมอเมื่อจําเป็นต้องเดินทางทางน้ำ หรือ ต้องทํากิจกรรมใกล้แหล่งน้ำเสี่ยง ซึ่งหัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อความปลอดภัยในเด็ก บอกว่ามาตรการทั้งหมด เพื่อให้เด็กรอดชีวิตจากการจมน้ำ และช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด

ผลจากการรณรงค์และให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำแก่เด็กในโครงการ 3 นาที 15 เมตร พบว่า
แนวโน้มการเสียชีวิตลดลงชัดเจน ในเด็กเล็กอายุ 1-4 ปี เสียชีวิตลดลงจาก 649 คนในปี 2543 เหลือ 295 คน  ในปี 2557 ลดลงถึงร้อยละ 46 ซึ่งเด็กวัยนี้มักจมน้ำเสียชีวิตในบ้าน ขณะที่ในเด็กวัยเรียนอายุ 5-9 ปี มีแนวโน้มการเสียชีวิตลดลงแต่น้อยมาก

เทปออกอากาศ 20 มีนาคม 2558

แนะวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ที่มีอาหารติดคอ

เทปออกอากาศ 21 มกราคม 2558

จากกรณีข่าวที่มีสาวใหญ่ จังหวัดแพร่ ทานลูกชิ้นจัมโบ้ติดคอจนเสียชีวิต และเหตุการณ์ที่จังหวัดมหาสารคาม เด็ก 4 ขวบ กลืนลูกแก้วลงคอจนมีอาการหายใจติดขัด อาเจียนเป็นเลือด แต่ล่าสุดอาการปลอดภัยแล้ว ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องใกล้ตัวที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วผู้ที่อยู่ใกล้ชิดจะต้องทำอย่างไร

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยความปลอดภัยในเด็ก รพ.รามาธิบดี ซึ่งคุณหมอบอกว่า การกลืนอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมลงไปในคอนั้น หากเป็นกรณีปกติสิ่งเหล่านั้นจะถูกกลืนลงไปในหลอดอาหาร และเข้าสู่กระเพาะอาหารต่อไป แต่หากกรณีที่อาหารหรือสิ่งแปลกปลอมตกเข้าไปในหลอดลม ซึ่งอยู่หน้าหลอดอาหารแล้วเกิดการติดค้างอยู่ ก็จะทำให้หายใจไม่ออก ต้องรีบนำสิ่งนั้นออกมาทันที อาการของผู้ที่มีอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมติดค้างอยู่ในหลอดลมทั้งในเด็กเล็กและผู้ใหญ่จะมีลักษณะใกล้เคียงกัน คือ สำลัก แน่นในลำคอ หายใจติดขัด ไอ เสียงแหบแห้ง หน้าเขียวตัวเขียว จนถึงขั้นหมดสติ ซึ่งในอาการสุดท้ายนี้จะมีเวลาในการช่วยเหลือเพียงแค่ 4 นาทีเท่านั้น

ดังนั้นในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หากพบผู้ที่มีอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมอุดตันในหลอดลม แต่ยังไม่หมดสติ ยังรู้ตัวอยู่ เราควรจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งแล้วรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที แต่หากผู้ป่วยมีอาการตัวเขียวหน้าเขียวจนถึงขั้นหมดสติ ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นระหว่างนำส่งโรงพยาบาล ซึ่งการปฐมพยาบาลนี้ในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ และเด็กที่มีอายุ 3 ขวบขึ้นไปจนถึงผู้ใหญ่ จะมีวิธีการช่วยเหลือแตกต่างกันไป

สำหรับการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้น คุณหมอแนะนำว่า ควรระมัดระวังในการทานอาหาร โดยหากเป็นเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และในผู้สูงอายุที่ช่วยตัวเองไม่ได้ ควรทานอาหารชิ้นเล็ก ละเอียด เป็นแผ่นบาง นอกจากนี้หากเป็นเด็กเล็กผู้ปกครองควรระมัดระวังลูกหยิบของเข้าปากด้วย สำหรับกรณีเด็กโตและผู้ใหญ่ ในการทานอาหารนั้น ควรนั่งทานให้เรียบร้อย ไม่เดินหรือวิ่งขณะทาน และไม่ควรหัวเราะขณะทานอาหารด้วย

 

ภัยสิ่งของเครื่องใช้และสภาพแวดล้อมรอบตัว­เด็ก

ภัยสิ่งของเครื่องใช้และสภาพแวดล้อมรอบตัว­เด็ก
โดย รศ.นพ.อดิศักดิ์ผลิตผลการพิมพ์
ผอ.ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยใ­นเด็ก
เทปออกอากาศ 11 มีนาคม 2558
ทางรามาชาแนล

อันตราย เป้สะพายเด็ก

อันตราย เป้สะพายเด็ก
โดย รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์

เทปออกอากาศ 11 มีนาคม 2558
ทางรามาชาแนล

(13 มี.ค.2558 ) คุมเข้มเด็กนั่งมอเตอร์ไซค์ ที่นี่ThaiPBS

10857306_836734996374709_2541030123556186642_o

ทีมงานไทยพีบีเอส สัมภาษณ์คุณหมออดิศักดิ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยฯ

กรณึสคบ.เสนอ “ติดฉลาก” เด็กต่ำกว่า 6ขวบ ไม่เหมาะกับการนั่งมอเตอร์ไซค์

รับชมได้ในคลิป ถึงเหตุผลและที่มา
ของการออกฉลากคำเตือนดังกล่าว

ซึ่งแท้จริงแล้ว..เป็นการออกฉลากคำเตือน

“ไม่สมควรให้เด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี หรือ เด็กที่เท้ายังไม่ถึงที่วางเท้า โดยสารรถจักรยานยนต์”

เป็นการเตือนและตระหนักให้รับรู้ถึงอุบัติเหตุ
มิได้บังคับใช้กับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์

Untitlu album: ไทยพีบีเอส สัมภาษณ์คุณหมออดิศักดิ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยฯ กรณึสคบ.เสน

13 มี.ค.2558 เวลา08.45 น. >ทีมงานไทยพีบีเอส สัมภาษณ์คุณหมออดิศักดิ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยฯ กรณึสคบ.เสนอ “ติดฉลาก” เด็กต่ำก…

Posted by ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รพ.รามาธิบดี on Thursday, March 12, 2015

11 มี.ค.2558 > ช่องGMM25 เบาะนิรภัยและซันลูปติดคอเด็ก

11036377_835568896491319_6476858367313411675_o

11 มี.ค.2558 > ช่องGMM25 ขอสัมภาษณ์
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ เกี่ยวกับ
กรณีเบาะนิรภัยและซันลูปติดคอเด็ก

Untitlu album: ช่องGMM25 ขอสัมภาษณ์กรณีเบาะนิรภัยและซันลูป.

11 มี.ค.2558 > ช่องGMM25 ขอสัมภาษณ์รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ เกี่ยวกับกรณีเบาะนิรภัยและซันลูปติดคอเด็กจากข่าว >…

Posted by ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รพ.รามาธิบดี on Wednesday, March 11, 2015

(11 มี.ค.2558) สคบ.เสนอห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี โดยสารรถจักรยานยนต์

11037368_835574829824059_7292643990829388745_o

ทีมข่าวช่อง3 > ขอสัมภาษณ์ รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ เกี่ยวกับ

สคบ.เสนอห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี โดยสารรถจักรยานยนต์ เพื่อป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุ หลังสั่งทบทวนให้รถจักรยานยนต์ เป็นสินค้าควบคุมฉลาก

Untitlu  album: ทีมข่าวช่อง3 > ขอสัมภาษณ์ รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ เกี่ยว

11 มี.ค.2558 ทีมข่าวช่อง3 > ขอสัมภาษณ์ รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ เกี่ยวกับ ภัยต่างๆในช่วงเด็กปิดเทอม และ สคบ.เ…

Posted by ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รพ.รามาธิบดี on Wednesday, March 11, 2015

ข่าวดีจะดัง ตอน เด็กเดินเท้าเป็นใหญ่

เทปบันทึกรายการ ข่าวดีจะดัง ตอน เด็กเดินเท้าเป็นใหญ่
ทางช่อง11NBT ออกอากาศศุกร์ที่ 20 ก.พ. เวลา 20.55 น. ทาง NBT
ทางเท้าเป็นหลุมเป็นบ่อ ทางเท้าเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวาง แถมทางเท้ายังเป็นที่สัญจรของบรรดารถจักรย­­านยนต์รับจ้าง
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเ­­หตุบนทางเท้า มาร่วมกันใส่ใจการเดินทางบนทางเท้า ให้เด็กเดินเท้าเป็นใหญ่แล้วจะปลอดภัยจากอ­­ุบัติเหตุ