website builder software

"เตือนอันตราย!!  

เบาะเด็กในรถยนต์" 

เตือนอันตรายเบาะเด็กในรถยนต์

ความสะดวกสบายสนุกสนานในรถยนต์ของเด็ก จะไม่สมดุลกับความปลอดภัย

จึงอยากให้พ่อแม่คำนึงถึงความปลอดภัยการเดินทางรถยนต์มากกว่า


เตือนภัยการใช้เบาะเด็กในรถยนต์

พิธีกรข่าว : เห็นภาพใช่ไหมครับว่า มีคุณพ่อ- คุณแม่หลายท่าน ทำตามแบบกัน เอาเบาะลมไปไว้ในด้านหลัง เรื่องเป็นอย่างไรครับคุณหมอ

รศ.นพ. อดิศักดิ์ : เห็นภาพนี้ในเฟสบุ๊คมาระยะหนึ่งแล้วครับ มีคอมเมนท์ออกไปให้ประชาชนรับทราบ คือ หลักการแบบนี้ แม้แต่นั่งรถเบาะธรรมดา หรือว่าคาดเข็มขัดนิรภัย ของรถยนต์นี้ ก็ยังไม่ปลอดภัยเลยสำหรับเด็ก เด็กเสียชีวิตจากรถยนต์ส่วนบุคคล ร้อยละ 100-140 คนต่อปี ส่วนใหญ่ จะเห็นว่ารถยนต์มีโครงสร้างที่แข็งแรง เวลาเกิดชนแล้วและถ้าไม่ยึดเหนี่ยวผู้โดยสาร โครงสร้างรถยนต์ที่แข็งแรงก็ไม่สามารถปกป้องได้ ผู้โดยสารก็จะกระเด็นไปตามความเร็วของรถยนต์ที่วิ่งมา ก่อนที่จะชนเปลี่ยนความเร็วเป็น 0 เช่นวิ่งมาความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เด็กก็จะกระเด็นในความเร็วเท่ากัน อันตรายที่สำคัญ คือ การยึดเด็กให้อยู่กับที่แล้วใช้โครงสร้างที่แข็งแรงของรถยนต์ปกป้องไว้การยึดเด็กโดยการใช้ เข็มขัดนิรภัย นี้ จะต้องอายุมากกว่า 9 ปี ขึ้นไป ถ้าต่ำกว่านั้น เข็มขัดนิรภัย จะไม่เหมาะสมต่อเด็ก เพราะอย่างนั้นเด็กจึงใช้ Car Seat แทนที่นั่งนิรภัย เบาะที่ปูลงไปแล้วเด็กนอน ไม่มีความปลอดภัยใดๆ ทั้งสิ้น เป็นความสะดวกที่เป็นอันตราย ต้องระวังอย่างมากครับ


พิธีกรข่าว : ถ้าอย่างนั้น ปลอดภัยที่สุดก็คือ Baby Seat ของรถยนต์


รศ.นพ. อดิศักดิ์ : คือ Car Seat หรือนั่งปลอดภัยสำหรับเด็ก จะแบ่งคราวๆ มี 3 อายุ ของเด็กทารก เด็กอายุ 2 -5 ขวบ เด็ก 5 ขวบขึ้นไป ต้องเลือกให้เหมาะสมตามอายุแล้วก็ของรถยนต์ด้วยครับ


พิธีกรข่าว : Car Seat หรือ Baby Seat จะอยู่ตรงเบาะหลังคนขับใช่ไหมครับ


รศ.นพ. อดิศักดิ์ : ครับ คือการใช้ที่นั่งนิรภัย ควรจะใช้ที่เบาะหลัง เด็กควรนั่งข้างหลังรถยนต์ที่มีเบาะหลัง นั่งหน้าจะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่าการนั่งเบาะหลัง กว่า 5 เท่าตัว เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปี ควรนั่งเบาะหลัง เด็กที่อายุต่ำกว่า 9 ปี ควรใช้ที่นั่งนิรภัย แต่ถ้าสูงกว่า 9 ปี ก็อาจจะใช้เข็มขัดนิรภัยได้แล้ว แต่ควรนั่งที่เบาะหลังอยู่ดี การติดตั้งที่นั่งนิรภัย อาจต้องติดตั้งหลังผู้โดยสารหรือตรงกลางก็ได้ แต่ที่ดีที่สุดควรติดตั้งตรงกลาง เพราะจะมีเข็มขัดนิรภัยของรถยนต์ยึดตัวที่นั่งนิรภัยได้ดี ในปัจจุบัน มี Air Back หรือถุงลมทางประตูด้านข้าง เพราะการติดตั้งห่างจากถุงลมนิรภัย ก็จะมีความปลอดภัยที่มากกว่า


พิธีกรข่าว : ถ้าติดเบาะด้านข้าง ควรจะเป็นหลังคนขับหรือว่าฝั่งตรงข้ามคนขับดีกว่าครับ


รศ.นพ. อดิศักดิ์ : ที่จริงก็พอๆกันนะครับ หลังคนขับหรือว่าหลังผู้โดยสารด้านข้างคนขับนะครับ


พิธีกรข่าว : ทีนี้อาจจะมีคุณพ่อ คุณแม่ บางคนนี้ บอกว่า เบาะลมทำให้ลูกนั่งสบายกว่า ลูกได้นอน ขับรถไม่เร็ว พออนุโลมไหม แบบนั้น


รศ.นพ. อดิศักดิ์ : ความสะดวกสบายนี้ เราเห็นมันเราเข้าใจอยู่แล้ว ใช้เบาะลมหรือไม่ใช้ที่นั่งนิรภัย เด็กก็สามารถปีนไปมาได้ในรถ ก็มีความสนุกสนานของเด็กอยู่แล้ว แต่ว่าไม่มีความปลอดภัยเลย เราจะสังเกตุได้ว่าแม้แต่คนขับ เรายังออกกฎหมายให้ใช้เข็มขัดนิรภัย ความปลอดภัยผู้นั่งข้างคนขับ แต่ว่าบ้านเราไม่ออกกฎหมายเกี่ยวกับที่นั่งนิรภัยเลย ดังนั้นกฎหมายเข็มขัดนิรภัยไม่มีประโยชน์สำหรับเด็ก เพราะเด็กไม่สามารถใช้เข็มขัดของรถยนต์ได้ เพราะงั้นความสะดวกสบายสนุกสนานในรถยนต์ของเด็ก จะไม่สมดุลกับความปลอดภัย อยากให้พ่อแม่คำนึงถึงความปลอดภัยการเดินทางรถยนต์มากกว่าครับ”